รายการ ACT Now

ACT Now EP.8 No Gift Policy

โดย ACT โพสเมื่อ Nov 01,2020

 ACT Now EP. 8

ACT Now EP. 8 “No Gift Policy” จากกระแสตอบรับในความร่วมมือของหลายภาคส่วน โดยเฉพาะเอกชนและภาคประชาสังคม ที่นำมาสู่การแสดงจุดยืนในการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการยอมรับของแนวทางนโยบายที่มีชื่อว่า “No Gift Policy” ซึ่งถือเป็นช่องว่างสำคัญในสังคมที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันหรือการเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกพ้องของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานภาครัฐและข้าราชการ ดังนั้นหากนโยบาย No Gift Policy ถูกนำมาปรับใช้อย่างจริงจัง สังคมเราจะเดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง เที่ยงตรง โปร่งใสและเป็นธรรมตามหลักการที่ควรจะเป็น โอกาสและช่องว่างของการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐจะลดลง สังคมจะไม่ถูกแบ่งแยกหรือเกิดการเลือกปฏิบัติ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์จะหมดไป


ACT Now EP.8.1 - No gift Policy ร่วมสร้างสังคมที่โปร่งใส จากกระแสตอบรับในความร่วมมือของหลายภาคส่วน โดยเฉพาะเอกชนและภาคประชาสังคม ที่นำมาสู่การแสดงจุดยืนในการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการยอมรับของแนวทางนโยบายที่มีชื่อว่า “No Gift Policy” ซึ่งถือเป็นช่องว่างสำคัญในสังคมที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันหรือการเอื้อผลประโยชน์ให้กับพวกพ้องของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานภาครัฐและข้าราชการ ดังนั้นหากนโยบาย No Gift Policy ถูกนำมาปรับใช้อย่างจริงจัง สังคมเราจะเดินหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง เที่ยงตรง โปร่งใสและเป็นธรรมตามหลักการที่ควรจะเป็น โอกาสและช่องว่างของการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐจะลดลง สังคมจะไม่ถูกแบ่งแยกหรือเกิดการเลือกปฏิบัติ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์จะหมดไป


 

ACT Now EP.8.2 - ไม่มีคนรับ หมดคนให้ วิถีปกติใหม่ ธอส. ไม่รับ = ไม่ต้องให้ ผมว่าทุกคนก็เคยเป็นเด็กมาก่อน อยู่ในบทละครที่ต้องหาของไปให้คนอื่นเขา ไปนึกถึงตอนนั้นสิ ว่าเราลำบากขนาดไหนดังนั้นพอตอนนี้พอเราเป็นคนรับอย่าไปหลงใหลได้ปลื้มกับของที่ได้ เราต้องนึกถอยไปว่าวันนั้นเราลำบากกว่าจะเดินหาของ จะถูกใจ ไม่ถูกใจ แล้วไม่รู้ตั้งกี่คน อย่าไปซ้ำเติมตัวเราเองในอดีต ดังนั้นถ้าเราคิดว่าเราไม่รับเสียอย่าง ตัวน้องๆ หรือผู้ใต้บังคับบัญชา หรือว่าพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจเขาก็ไม่เดือดร้อน แล้วก็อย่างที่เรียนว่าทำให้เราเดินตัวตรง จะพูดอะไร จะทำอะไรบนหลักความถูกต้อง พูดได้เต็มปาก ผมว่าดังนั้นการทำธุรกิจต้องทำตรงๆ และด้วยประโยชน์ขององค์กรกับของพนักงาน เพื่อที่จะได้ส่งมอบบริการที่ดี คุณภาพที่ดีในราคาที่ต่ำให้กับประชาชน ปากว่าตาขยิบ ผมว่าอยู่ที่ตัวอย่างคือถ้าเกิดว่าอย่างที่สำนวนไทยบอกปากว่าตาขยิบ ดังนั้นถ้าคนที่ใหญ่ที่สุดในองค์กรแล้วก็ Cascade ลงมาในผู้บริหารระดับต่างๆ ถ้าเราทำตัวเป็นตัวอย่างแล้ว พนักงานเขาก็เห็น แล้วก็เวลาคุณจะไปสอนพนักงานหรือไปให้ความรู้ หรือว่าไป Inspiration เขา พูดได้เต็มปากว่าเราก็ทำอย่างนี้ ดังนั้นทำไมพวกคุณจะทำไม่ได้ คุณทำอะไร คุณต้องตรวจสอบได้ แล้วก็การตรวจสอบได้ออกมาจากข้างในเพราะว่าคุณไม่ต้อง Pretend หรือว่าเล่นละครให้คนอื่นเขาเห็นว่าเราทำอย่างหนึ่งข้างหลังแต่มาทำอีกอย่างหนึ่งข้างหน้ารึเปล่า ถ้าเราในฐานะของเบอร์หนึ่ง เป็นตัวอย่างให้เขาเห็นว่าเราไม่รับหรือเวลาบริษัทคู่ค้ามาขอพบตอนปีใหม่ เลขาก็บอกไปเลยว่า มาก็มาเฉยๆ นะ มานั่งคุยกัน แล้วพออย่างนี้เริ่มกระจายออกไป ผู้บริหารรองๆ ลงไปเขาก็เริ่มกระดากกระเดิดแล้วว่าก็เบอร์หนึ่งเขาไม่รับแล้วคุณจะมารับได้อย่างไร แล้วผมว่าพอพนักงานเห็นอย่างนี้ทุกคนก็ทำ พอเราเริ่มไม่รับ คนก็เริ่มไม่ซื้อ แล้วก็กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่แล้วก็แพร่ไปทั่วประเทศ ไม่ให้ของขวัญแล้วจะให้อะไร ผมว่าคนเรานะ แค่นึกถึงก็ดีใจแล้วนะครับว่าเขายังนึกถึงเราอยู่ เพียงแต่ว่าพอเริ่มครั้งแรกก็คงยังรับอยู่ หรือแอบรับ พูดกันตรงๆ แต่พอเราเริ่มทำปีที่ 2 ปีที่ 3 แล้วเราก็ได้รางวัลซ้ำๆ มา จนกระทั่งปีนี้เป็นปีที่ 4 กลายเป็นวิถีปกติของแบงค์เราไปแล้วว่าพอตอนช่วงเทศกาล หรือ ปีใหม่ การมาแสดงความยินดี ก็ยังคงมาอยู่แต่ก็จะเหลือแค่การ์ดใบเดียวหรือเต็มที่ก็พวงมาลัยหนึ่งพวง แล้วก็มา Blessing กัน มาอวยพรกันก็เท่านั้น วัฒนธรรมองค์กรของธนาคารอาคารสงเคราะห์ การขอบคุณของธนาคารอาคารสงเคราะห์เราทำเป็นเรื่องปกติเพราะว่าอะไรดีงามเกิดขึ้นในองค์กรของเราเราก็มีการแจ้งแล้วก็ขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือแต่ว่าเหนือสิ่งอื่นใดทุกคนก็ได้รับ สิ่งที่มากกว่าคำขอบคุณอีกก็คือว่าทุกคนคือได้รับการยอมรับจากสังคม ทุกคนพูดถึงเราในสิ่งที่ดี แล้วก็เวลาใครพูดถึงเราในสิ่งที่ดีเรารู้สึกว่าใจพองว่าเราเป็นตัวอย่างแล้วทุกคนก็อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ดังนั้นเหนือคำขอบคุณก็คือว่าการที่เราได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่น ได้รับการยอมรับจากสังคมว่าหน่วยงานของเราประพฤติปฏิบัติดีแล้วก็เป็นตัวอย่างให้หน่วยงานอื่นๆ เขา